- รายละเอียด
- หมวด: สาระน่ารู้เรื่องข้าว
- ฮิต: 1211
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่ระบาด เขตภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง และมีแนวโน้มจะมีการระบาดมากขึ้น
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่ระบาด เขตภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง และมีแนวโน้มจะมีการระบาดมากขึ้น โดยจากการรับรายงานจากศูนย์วิจัยข้าวที่รับผิดชอบ สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว และศูนย์ปฏิบัติการควบคุมการระบาดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมการระบาดและป้องกันการระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่จะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น กรมการข้าวจึงขอแนะนำการใช้สารเคมีฆ่าแมลงในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่ระบาด เขตภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ดังนี้
อายุข้าว |
วิธีปฏิบัติ |
เหตุผล |
น้อยกว่า 40 วัน
- กรณีพบตัวอ่อนระยะวัยที่ 1-2 จำนวนมากกว่า 5 ตัว ต่อต้นขึ้นไป |
- ใช้สารเคมีฆ่าแมลง ได้แก่ บูโพรเฟซิน (ยับยั้งการลอกคราบ) หรือ อิโทเฟรพรอกซ์ (ถูกตัวตาย) หรือ บูโพรเฟซิน + ไอโซโปรคาร์บ (ยับยั้งการลอกคราบ+ถูกตัวตาย) หรือ อิทิโพรล*(ชนิดดูดซึม) |
- ใช้สารเคมีฆ่าแมลงที่คุ้มค่าต่อการลงทุน - ใช้พื้นที่ที่ใช้สารอิทิโพรล*ต่อเนื่องเกินกว่า 2 ปี ควรเปลี่ยนไปใช้สารเคมีฆ่าแลงที่แนะนำชนิดอื่น เนื่องจากแมลงอาจดื้อต่อสารชนิดนั้นแล้ว |
40-60 วัน - พบตัวอ่อนสีน้ำตาล และตัวแก่ชนิดปีกสั้น จำนวนมากกว่า 1 ตัวต่อต้น |
- ให้ใช้สารเคมีฆ่าแมลง ได้แก่ อิโทเฟนพรอกซ์ (ถูกตัวตาย) หรือ อิทิโพรล*(ชนิดดูดซึม) |
- เนื่องจากบริเวณโคนต้นเป็นบริเวณที่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่หนาแน่น |
มากกว่า 60 วัน ถึง ออกรวง o หากพบตัวอ่อนและตัวแก่สีน้ำตาลเข้มถึงดำ จำนวนมากกว่า 1 ตัวต่อต้น |
o ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีฆ่าแมลง o ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้ดินพอเปียก
|
o สารเคมีฆ่าแลงไม่สามารถควบคุมปริมาณได้เนื่องจากจำนวนมากเกินกว่าที่จะควบได้ ประกอบกับจะมีการเลื่อนย้ายเข้ามาของแมลงจากแปลงใกล้เคียงตลอดเวลาจึงไม่คุ้มต่อการลงทุน o เพื่อให้สภาพแปลงนาไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยและมดสามารถขั้นมากัดกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ |