วันที่ 17 - 23 มิถุนายน 2564
|
สรุปรายงานสถานการณ์ศัตรูข้าว กรมการข้าว ระหว่างวันที่ 24 - 30 มิถุนายน 2564 |
สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2564) พบพื้นที่การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ แพร่ และเพชรบุรี พื้นที่ระบาดจำนวน 121 ไร่ การระบาดคงที่ สถานการณ์การระบาดของโรคไหม้ข้าว รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร พบพื้นที่ระบาด จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ น่าน อุทัยธานี จันทบุรี สงขลา และปัตตานี พื้นที่ระบาดจำนวน 52 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 27 ไร่ สถานการณ์การระบาดของศัตรูข้าวชนิดอื่น รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2564) พบพื้นที่ระบาดจากการเข้าทำลายของศัตรูข้าว ดังนี้ - การระบาดของหนอนห่อใบข้าว จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ พื้นที่ระบาดจำนวน 30 ไร่ การระบาดคงที่ |
ข้อมูลเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จากผลการตรวจนับจำนวนตัวเต็มวัยในกับดักแสงไฟของศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ศูนย์วิจัยข้าวอยุธยา ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ (ติดตั้งกับดักแสงไฟที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่) ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ศูนย์วิจัยข้าวอุดรธานี ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ชัยนาท (ติดตั้งกับดักแสงไฟที่จังหวัดสิงห์บุรีและอุทัยธานี) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ราชบุรี (ติดตั้งกับดักแสงไฟที่จังหวัดราชบุรีและสุพรรณบุรี) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลพบุรี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด และสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ พบจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในกับดักแสงไฟไม่ถึงระดับวิกฤติ (ระดับวิกฤติ คือ 50,000 ตัวต่อคืน) ข้อมูลโรคไหม้ รายงานค่าความเสี่ยงของอากาศในระหว่างวันที่ 24 - 30 มิถุนายน 2564 รายงานค่าความเสี่ยงของอากาศในการเกิดโรคไหม้จากสถานีเครือข่ายที่มีค่าความเสี่ยงเกินระดับวิกฤติ (ค่าวิกฤต คือ 2.25) คือ ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ส่วนศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ (สถานีศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ และสถานีดงหลักหมื่น) ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี (อ.เมือง จ.ราชบุรี) มีค่าความเสี่ยงของอากาศในการเกิดโรคไหม้ไม่เกินระดับวิกฤติ |
การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในสัปดาห์หน้า ในช่วงวันที่ 1- 3 กรกฎาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ การคาดการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในสัปดาห์หน้า จากผลการตรวจนับจำนวนตัวเต็มวัยในกับดักแสงไฟ ภายใน 2-3 สัปดาห์ ยังไม่พบจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เกินระดับวิกฤติ ดังนั้น แนวโน้มในการระบาดอาจพบน้อยหรืออาจพบเป็นบางพื้นที่ที่เคยมีการระบาดเป็นประจำ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ข้าว พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร การปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น โดยเฉพาะในแปลงที่มีการปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์ปทุมธานี 1 และพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้น แปลงที่ปลูกข้าวแน่น และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงกว่า คำแนะนำ ส่วนจังหวัดที่มีการรายงานพื้นที่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในสัปดาห์นี้ ได้แก่ แพร่ และเพชรบุรี ควรมีการเฝ้าติดตามการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง และสำรวจในพื้นที่ที่ปลูกข้าวอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีปริมาณน้อยกว่า 10 ตัว/กอ หรือยังไม่เกิดการระบาด สามารถใช้เชื้อราบิวเวอเรียควบคุมการระบาด แต่ในกรณีเกิดการระบาด พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปริมาณ 10 ตัว/กอ หรือมากกว่า ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมการข้าวอย่างเคร่งครัด (www.ricethailand.go.th; องค์ความรู้เรื่องข้าว) |
สารป้องกันกำจัดแมลงที่สามารถใช้ในการควบคุมการระบาด ให้เลือกใช้ตามอายุของข้าว ได้แก่ • ข้าวหลังหว่าน ถึงอายุ 40 วัน พบตัวอ่อนระยะที่ 1-2 จำนวนมากว่า 5 ตัว/ต้น ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ บูโพรเฟซิน 10% ดับบลิวพี อัตรา 25 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน/ไอโซโพรคาร์บ 5%/20% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง • ข้าวอายุ 41-60 วัน พบตัวอ่อนสีน้ำตาล และตัวเต็มวัยชนิดปีกสั้น จำนวนมากกว่า 1 ตัว/ต้น ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ ไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ไพมิโทซิน 50% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง • ข้าวอายุ 61-80 วัน พบตัวอ่อนสีน้ำตาล และตัวเต็มวัยชนิดปีกสั้น จำนวนมากกว่า 1 ตัว/ต้น ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ ไพรมิโทซิน 50% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง ในกรณีที่เกิดการระบาดอย่างรุนแรง หรือพบประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากกับดักแสงไฟในระดับที่สูงกว่าค่าวิกฤตอย่างมาก (ค่าวิกฤต 50,000 ตัวต่อวัน) สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่สามารถใช้ในการควบคุมการระบาด คือ สารไพรมิโทซิน 50% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (เมื่อพบจำนวนมวนเขียวดูดไข่มาก) หรือสารซัลฟอกซาฟลอร์ 50% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (เมื่อพบจำนวนมวนเขียวดูดไข่น้อย) โดยเลือกใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง การคาดการณ์การระบาดของโรคไหม้ในสัปดาห์หน้า |
รายงาน ณ วันที่ 2 กรกฏาคม 2564 |
สรุปรายงานสถานการณ์ศัตรูข้าวทั้งหมด |
ห้องสมุดข้าว BRRD เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านข้าว ประกอบด้วย ฐานข้อมูลงานวิจัยข้าว ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ วารสารวิชาการข้าว จนถึงสาระน่ารู้ต่างๆ ตั้งแต่เรื่องพันธุ์ข้าว การปลูก การดูเเลรักษาและการใช้ปุ๋ยในนาข้าว ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด วัชพืชในนาข้าว เมล็ดพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและสะดวก ท่านสามารถเข้าชมได้ตามลิงค์รูปภาพด้านล่างนี้